วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

ดอกไม้..เทพนิยายกรีก..

ดอกไม้..เทพนิยายกรีก..


๐๐๐ "ดอกไม้" เป็นความงดงาม ที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องสื่อสารระหว่างกัน ถึงแม้จะเป็นเพียงดอกไม้ แต่ก็คงความหมายลึกซึ้ง มากมายหลายเท่านัก บางครั้ง อาจมีคุณค่าทางใจ มากกว่า ถ้อยคำอันหวานซึ้ง ก็เป็นได้..

๐๐๐ เทพนิยายกรีก เป็นเทพนิยายที่ได้รับการกล่าวขานทั่วโลก เนื่องด้วยกรีก เป็นชนชาติที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก ในประวัติศาสตร์แทบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น ศาสตร์การแพทย์ เศรษฐกิจ การเมือง หรือ ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีโบราณต่าง ๆ ดังที่เรารู้กันทั่วไป..

๐๐๐ ตำนานเทพนิยาย และ เรื่องเล่า เกี่ยวกับการกำเนิดของ พฤกษชาตินานาพันธ์ ล้วนมาจากอารมณ์อันสุนทรีย์ ของปราชญ์ชาวกรีก ที่ถ่ายทอดร้อยเรียงถ้อยคำ เป็นบทกวีและเรื่องราว โดยอาศัยความรู้สึกแห่งกิเลสตัณหา ของบรรดาทวยเทพทั้งหลาย ผ่านความงามของดอกไม้มากมาย...
จนเกิดเป็นตำนานดอกไม้แห่งเทพนิยาย อันมหัศจรรย์... ชื่อเสียงเทพนิยาย ต่างเป็นที่กล่าวขานโด่งดังไปทั่วโลก... ทั้งยังทำให้ผู้คนต่างถิ่นมากมาย หลงใหลใคร่รู้ จนอยากค้นหา เรื่องราวของบรรดาทวยเทพทั้งหลาย... ผู้เป็นต้นเหตุให้กำเนิดดอกไม้ในเทพนิยาย...

๐๐๐ ชื่อของต้น "Anemone" เชื่อมโยงกับตำนานโบราณ บอกเรื่องราวเกี่ยวกับ ความรักระหว่าง อโดนิส และ อโฟรไดท์ (โรมันเรียก วีนัส) เทพนิยายนี้ เป็นแรงดลใจให้แก่กวีผู้ยิ่งใหญ่ โอวิเดียส และถัดมาก็คือ เชกสเปียร์ ซึ่งได้แต่งเพลงสรรเสริญ ที่อุทิศให้แก่ ความรัก เรื่องในเทพนิยาย เล่าว่า...

๐๐๐ เมื่ออโดนิส ได้อยู่ร่วมกับอโฟรไดท์ คู่รักทั้งสองได้ออกไปล่าสัตว์ในดงไม้ เมื่ออโดนิสได้ไล่ล่าผ่านป่า เทพธิดาอโฟรไดท์ ได้แต่งตัวแบบนักล่าสัตว์ ติดตามและซ่อนตัวอยู่หลังรถเทียมหงส์ เอรีส เทพเจ้าแห่งสงคราม ซึ่งหลงรักอโฟรไดท์ รู้สึกริษยาความสัมพันธ์ของทั้งคู่ เมื่ออโดนิส ศตรูของเขากำลังล่าสัตว์อยู่ตามลำพัง เอรีส ได้ปลอมตัวเป็นหมูป่า และ เข้าทำร้ายอโดนิส จนบาดเจ็บสาหัส...

๐๐๐ อโดนิสได้ใช้หอก ต่อสู้กับหมูป่า โดยหารู้ไม่ว่านั่นคือ เทพเอรีส ในที่สุดเทพอโดนิส ก็ทนพิษบาดแผลจากเขี้ยวหมูป่าไม่ไหว จึงถึงแก่ความตาย อโฟรไดท์ ซึ่งซ่อนตัวอยู่หลังรถเทียมหงส์ ได้รีบรุดมายังอโดนิส แต่สายไปเสียแล้ว เทพอโฟรไดท์ พบเพียงร่างไร้วิญญาณของคนรัก เธอโศกเศร้าและหมดความหวัง ที่จะเรียกวิญญาณของเทพอโดนีสคืนมา เธอได้พรมน้ำทิพย์ไปยังบาดแผลของอโดนีส เมื่ออโฟร์ไดท์ได้นำร่างคู่รัก ออกจากดงไม้ ก็มีต้นไม้ที่มีดอกสีแดงเข้ม มากมายหลายพันธ์ ได้ผุดออกจากหยดเลือดของ อโดนีส ที่ชโลมไหลอยู่บนพื้นดิน...

๐๐๐ และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เมื่อลมพัดผ่าน ดอกไม้จากต้นไม้นั้น ก็จะบานและกลีบดอกไม้ก็หลุดล่วงลอยไปตามลม ดอกไม้นั้น ก็ถูกขนานนามว่า "Anemone" หรือ "ดอกไม้แห่งสายลม"

Beyoncé - Sweet Dreams

Beyoncé - Ego

Beyoncé;Jay-Z - Crazy In Love

Beyoncé - Video Phone ft. Lady Gaga

Beyoncé

- Irreplaceable

วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Design Culture

มวยไชยา

มวยไชยาเป็นศิลปะมวยไทยประจำถิ่นอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีชื่อเสียงมากสมัยรัชกาลที่ 5 - 6 จนมีนักมวยจากไชยาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหมื่นมวยมีชื่อ

ขนมไทย


                  ขนมชั้น เป็นขนมไทยชนิดหนึ่ง โบราณถือเป็นขนมสำหรับใช้ในพิธีมงคล และจะต้องหยอดขนมให้ได้ ๙ ชั้น หรือมากกว่านั้นก็ได้ จะเป็นศิริมงคลเจริญก้าวหน้า หรือบางรายอาจจะตั้งชื่อให้เป็นมงคลขึ้นไปอีกว่าขนมชั้นฟ้า ส่วนผสมของขนมส่วนใหญ่จะเป็นแป้ง ซึ่งแป้งแต่ละอย่างก็จะทำให้ขนมนุ่มนวล น่ารับประทาน
 แป้งมัน จะทำให้เนื้อขนมเนียน นุ่ม เหนียว หนืด ดูใสเป็นมัน
 แป้งถั่ว จะทำให้ขนมอยู่ตัว ไม่เหนียวมากเกินไป
 แป้งท้าวยายม่อม จะทำให้เนื้อขนมเนียน เหนียว แข็ง แต่จะใสน้อยกว่าแป้งมัน
 แป้งข้าวเจ้า จะทำให้เนื้อขนมแข็ง และอยู่ตัว
 กะทิ ถ้าใสมากจะทำให้ขนมเหลว ลอกชั้นได้ยาก ถ้ากะทิน้อย ขนมจะแข็งกระด้างไม่น่ารับประทาน ใช้  กะทิที่เข้มข้นพอดี จะทำให้ขนมเป็นชั้นลอกออกจากกันได้ง่าย ผิวดูเป็นมัน เวลาหยิบไม่ติดมือ
 น้ำตาล ถ้าใส่น้ำตาลมากไปขนมจะหวานจัด แฉะ ลอกชั้นได้ยาก ความเหนียวของขนมจะน้อยลง
การแต่งกายสมัย รัชกาลที่๕


         การแต่งกายในสมัยรัตนโกสินทร์ระยะเริ่มแรกยังคงรับช่วงต่อจากสมัยอยุธยาตอนปลาย
เนื่องจากคนไทยส่วนใหญ่สมัยต้นรัตนโกสินทร์มาจากกรุงศรีอยุธยา ฉะนั้น ความรู้ ความคิด
ความเชื่อ และขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ จึงไม่ผิดแผกแตกต่างจากสมัยอยุธยามากนัก
ต่อมาได้วิวัฒนาการไปตามสภาพสังคม สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม การติดต่อกับนานาประเทศ ฯลฯ
ซึ่งจำแนกลักษณะเฉพาะของการแต่งกายในแต่ละยุคได้
      ในราชสำนัก สตรีนุ่งผ้ายกหรือผ้าลายทอง ห่มสไบเฉียงด้วยผ้าปักหรือผ้าแพรที่พับเหมือนอัดกลีบ
ผมตัดไว้เชิงสั้น(เนื่องด้วยในสมัยอยุธยาตอนปลายเกิดสงคราม หญิงต้องตัดผมสั้นเพื่อปลอมตัวเป็นชาย  สะดวกในการหนีภัยจากพม่า)
ชายนุ่งผ้าม่วงโจงกระเบนสีต่าง ๆ สวมเสื้อคอปิด ผ่าอกแขนยาว
แต่โดยปกติไม่นิยมสวมเสื้อการแต่งกายของขุนนางในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
จะสวมเสื้อเข้าเฝ้าในฤดูหนาวเท่านั้น
ประเพณีลอยกระทง


          ในสมัยก่อนนั้นพิธีลอยกระทงจะเป็นการลอยโคม โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสันนิษฐานว่า พิธีลอยกระทงเป็นพิธีของพราหมณ์ จัดขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้า 3 องค์ คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ต่อมาได้นำพระพุทธศาสนาเข้าไปเกี่ยวข้อง จึงให้มีการชักโคม เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ และลอยโคมเพื่อบูชารอยพระบาทของพระพุทธเจ้า
ก่อนที่นางนพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ สนมเอกของพระร่วงจะคิดค้นประดิษฐ์กระทงดอกบัวขึ้นเป็นคนแรกแทนการลอยโคม ดังปรากฎในหนังสือนางนพมาศที่ว่า
"ครั้นวันเพ็ญเดือน 12 ข้าน้อยได้กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมสนมกำนัลทั้งปวงจึงเลือกผกาเกษรสีต่าง ๆ มาประดับเป็นรูปกระมุทกลีบบานรับแสงจันทร์ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้ป็นลวดลาย..."
เมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จฯ ทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงโปรดให้ถือเป็นเยี่ยงอย่าง และให้จัดประเพณีลอยกระทงขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยให้ใช้กระทงดอกบัวแทนโคมลอย ดังพระราชดำรัสที่ว่า "ตั้งแต่นี้สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศถึงกาลกำหนดนักขัตตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานทีตราบเท่ากัลปาวสาน" พิธีลอยกระทงจึงเปลี่ยนรูปแบบตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ประเพณีลอยกระทงสืบต่อกันเรื่อยมา จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น สมัยรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 3 พระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนขุนนางนิยมประดิษฐ์กระทงใหญ่เพื่อประกวดประชันกัน ซึ่งต้องใช้แรงคนและเงินจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงเห็นว่าเป็นการสิ้นเปลือง จึงโปรดให้ยกเลิกการประดิษฐ์กระทงใหญ่แข่งขัน และโปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ทำเรือลอยประทีปถวายองค์ละลำแทนกระทงใหญ่ และเรียกชื่อว่า "เรือลอยประทีป" ต่อมาในรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ได้ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีนี้ขึ้นมาอีกครั้ง ปัจจุบันการลอยพระประทีปของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงกระทำเป็นการส่วนพระองค์ตามพระราชอัธยาศัย
ประเพณีโคมลอย


             ประเพณี ?ยี่เป็ง? หรือ "วันลอยกระทง" ตรงกับ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือนยี่ (เดือนพฤศจิกายน) หรือ ?วันยี่เป็ง?เป็นที่ยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่ช้านาน หัวใจหลักของประเพณีลอยกระทง ในวันนี้จะเป็นวันขอขมาต่อพระแม่คงคาที่เราได้กระทำสิ่งไม่ดีต่อแม่น้ำลำคลอง ในช่วงเช้าจะมีการทำบุญตักบาตร และมีเทศน์มหาชาติฉบับล้านนา ตั้งแต่เช้ามืด เวลากลางคืน จะมีการปล่อยโคมลอยขึ้นบนท้องฟ้าซึ่งชาวล้านนาถือว่า การลอยโคมนี้เป็นการปล่อยเคราะห์ ปล่อยโศก บ้างเชื่อว่า เพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณี บนสรวงสวรรค์ นอกเหนือจากการลอยกระทงเพื่อเป็นการลอยเคราะห์ลอยโศกออกจากตัวเรา
      มีความเชื่อว่าการปล่อยโคมลอยเป็นการสะเดาะเคราะห์เป็นการลอยเคราะห์ออกจากตัวอย่างน้อยใน 1 ปีควรจะมีโอกาสได้ปล่อยโคม ลอยโคม หรือ ลอยเคราะห์ออกจากตัวเราสักครั้งหนึ่ง ปัจจุบันไม่เฉพาะแต่ประเพณียี่เป็งเท่านั้นที่มีการลอยโคมไฟ ไม่ว่าจะเป็นงานบุญ งานสมโภชน์ เฉลิมฉลอง งานขึ้นบ้านใหม่หรือแม้กระทั่งงานศพที่เชื่อถือกันว่าเป็นการส่งวิญญาณผู้ที่ล่วงลับขึ้นสู่สรวงสวรรค์ล้วนแต่ยึดถือปฏิบัติในการลอยโคมกันทั้งนั้น อย่างน้อยการได้ปล่อยโคมลอยก็ถือเป็นความสุข ความสบายใจของผู้ลอยโคมลอย