วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Design Culture

มวยไชยา

มวยไชยาเป็นศิลปะมวยไทยประจำถิ่นอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีชื่อเสียงมากสมัยรัชกาลที่ 5 - 6 จนมีนักมวยจากไชยาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหมื่นมวยมีชื่อ

ขนมไทย


                  ขนมชั้น เป็นขนมไทยชนิดหนึ่ง โบราณถือเป็นขนมสำหรับใช้ในพิธีมงคล และจะต้องหยอดขนมให้ได้ ๙ ชั้น หรือมากกว่านั้นก็ได้ จะเป็นศิริมงคลเจริญก้าวหน้า หรือบางรายอาจจะตั้งชื่อให้เป็นมงคลขึ้นไปอีกว่าขนมชั้นฟ้า ส่วนผสมของขนมส่วนใหญ่จะเป็นแป้ง ซึ่งแป้งแต่ละอย่างก็จะทำให้ขนมนุ่มนวล น่ารับประทาน
 แป้งมัน จะทำให้เนื้อขนมเนียน นุ่ม เหนียว หนืด ดูใสเป็นมัน
 แป้งถั่ว จะทำให้ขนมอยู่ตัว ไม่เหนียวมากเกินไป
 แป้งท้าวยายม่อม จะทำให้เนื้อขนมเนียน เหนียว แข็ง แต่จะใสน้อยกว่าแป้งมัน
 แป้งข้าวเจ้า จะทำให้เนื้อขนมแข็ง และอยู่ตัว
 กะทิ ถ้าใสมากจะทำให้ขนมเหลว ลอกชั้นได้ยาก ถ้ากะทิน้อย ขนมจะแข็งกระด้างไม่น่ารับประทาน ใช้  กะทิที่เข้มข้นพอดี จะทำให้ขนมเป็นชั้นลอกออกจากกันได้ง่าย ผิวดูเป็นมัน เวลาหยิบไม่ติดมือ
 น้ำตาล ถ้าใส่น้ำตาลมากไปขนมจะหวานจัด แฉะ ลอกชั้นได้ยาก ความเหนียวของขนมจะน้อยลง
การแต่งกายสมัย รัชกาลที่๕


         การแต่งกายในสมัยรัตนโกสินทร์ระยะเริ่มแรกยังคงรับช่วงต่อจากสมัยอยุธยาตอนปลาย
เนื่องจากคนไทยส่วนใหญ่สมัยต้นรัตนโกสินทร์มาจากกรุงศรีอยุธยา ฉะนั้น ความรู้ ความคิด
ความเชื่อ และขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ จึงไม่ผิดแผกแตกต่างจากสมัยอยุธยามากนัก
ต่อมาได้วิวัฒนาการไปตามสภาพสังคม สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม การติดต่อกับนานาประเทศ ฯลฯ
ซึ่งจำแนกลักษณะเฉพาะของการแต่งกายในแต่ละยุคได้
      ในราชสำนัก สตรีนุ่งผ้ายกหรือผ้าลายทอง ห่มสไบเฉียงด้วยผ้าปักหรือผ้าแพรที่พับเหมือนอัดกลีบ
ผมตัดไว้เชิงสั้น(เนื่องด้วยในสมัยอยุธยาตอนปลายเกิดสงคราม หญิงต้องตัดผมสั้นเพื่อปลอมตัวเป็นชาย  สะดวกในการหนีภัยจากพม่า)
ชายนุ่งผ้าม่วงโจงกระเบนสีต่าง ๆ สวมเสื้อคอปิด ผ่าอกแขนยาว
แต่โดยปกติไม่นิยมสวมเสื้อการแต่งกายของขุนนางในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
จะสวมเสื้อเข้าเฝ้าในฤดูหนาวเท่านั้น
ประเพณีลอยกระทง


          ในสมัยก่อนนั้นพิธีลอยกระทงจะเป็นการลอยโคม โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสันนิษฐานว่า พิธีลอยกระทงเป็นพิธีของพราหมณ์ จัดขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้า 3 องค์ คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ต่อมาได้นำพระพุทธศาสนาเข้าไปเกี่ยวข้อง จึงให้มีการชักโคม เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ และลอยโคมเพื่อบูชารอยพระบาทของพระพุทธเจ้า
ก่อนที่นางนพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ สนมเอกของพระร่วงจะคิดค้นประดิษฐ์กระทงดอกบัวขึ้นเป็นคนแรกแทนการลอยโคม ดังปรากฎในหนังสือนางนพมาศที่ว่า
"ครั้นวันเพ็ญเดือน 12 ข้าน้อยได้กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมสนมกำนัลทั้งปวงจึงเลือกผกาเกษรสีต่าง ๆ มาประดับเป็นรูปกระมุทกลีบบานรับแสงจันทร์ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้ป็นลวดลาย..."
เมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จฯ ทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงโปรดให้ถือเป็นเยี่ยงอย่าง และให้จัดประเพณีลอยกระทงขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยให้ใช้กระทงดอกบัวแทนโคมลอย ดังพระราชดำรัสที่ว่า "ตั้งแต่นี้สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศถึงกาลกำหนดนักขัตตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานทีตราบเท่ากัลปาวสาน" พิธีลอยกระทงจึงเปลี่ยนรูปแบบตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ประเพณีลอยกระทงสืบต่อกันเรื่อยมา จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น สมัยรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 3 พระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนขุนนางนิยมประดิษฐ์กระทงใหญ่เพื่อประกวดประชันกัน ซึ่งต้องใช้แรงคนและเงินจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงเห็นว่าเป็นการสิ้นเปลือง จึงโปรดให้ยกเลิกการประดิษฐ์กระทงใหญ่แข่งขัน และโปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ทำเรือลอยประทีปถวายองค์ละลำแทนกระทงใหญ่ และเรียกชื่อว่า "เรือลอยประทีป" ต่อมาในรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ได้ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีนี้ขึ้นมาอีกครั้ง ปัจจุบันการลอยพระประทีปของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงกระทำเป็นการส่วนพระองค์ตามพระราชอัธยาศัย
ประเพณีโคมลอย


             ประเพณี ?ยี่เป็ง? หรือ "วันลอยกระทง" ตรงกับ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือนยี่ (เดือนพฤศจิกายน) หรือ ?วันยี่เป็ง?เป็นที่ยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่ช้านาน หัวใจหลักของประเพณีลอยกระทง ในวันนี้จะเป็นวันขอขมาต่อพระแม่คงคาที่เราได้กระทำสิ่งไม่ดีต่อแม่น้ำลำคลอง ในช่วงเช้าจะมีการทำบุญตักบาตร และมีเทศน์มหาชาติฉบับล้านนา ตั้งแต่เช้ามืด เวลากลางคืน จะมีการปล่อยโคมลอยขึ้นบนท้องฟ้าซึ่งชาวล้านนาถือว่า การลอยโคมนี้เป็นการปล่อยเคราะห์ ปล่อยโศก บ้างเชื่อว่า เพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณี บนสรวงสวรรค์ นอกเหนือจากการลอยกระทงเพื่อเป็นการลอยเคราะห์ลอยโศกออกจากตัวเรา
      มีความเชื่อว่าการปล่อยโคมลอยเป็นการสะเดาะเคราะห์เป็นการลอยเคราะห์ออกจากตัวอย่างน้อยใน 1 ปีควรจะมีโอกาสได้ปล่อยโคม ลอยโคม หรือ ลอยเคราะห์ออกจากตัวเราสักครั้งหนึ่ง ปัจจุบันไม่เฉพาะแต่ประเพณียี่เป็งเท่านั้นที่มีการลอยโคมไฟ ไม่ว่าจะเป็นงานบุญ งานสมโภชน์ เฉลิมฉลอง งานขึ้นบ้านใหม่หรือแม้กระทั่งงานศพที่เชื่อถือกันว่าเป็นการส่งวิญญาณผู้ที่ล่วงลับขึ้นสู่สรวงสวรรค์ล้วนแต่ยึดถือปฏิบัติในการลอยโคมกันทั้งนั้น อย่างน้อยการได้ปล่อยโคมลอยก็ถือเป็นความสุข ความสบายใจของผู้ลอยโคมลอย

วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วัฒนธรรมไทย


วัฒนธรรมทางจารีตและขนบธรรมเนียมประเพณี 
เช่น การทักทายด้วยการไหว้ มารยาทการกิน การเดิน การแต่งกาย ประเพณีแต่งงาน เป็นต้น
ตัวอย่างวัฒนธรรมทางจารีตและขนมธรรมเนียมประเพณี




รีรีข้าวสาร

          ให้ผู้เล่น คน ยืนเอามือประสานกันเหนือศีรษะเป็นประตูโค้ง คนอื่นๆ เกาะไหล่กันลอดใต้โค้งไปเรื่อยๆ สองคนที่เป็นประตูจะร้องเพลงประกอบเวลา แถวลอดใต้โค้งหัวแถวจะต้องเดินอ้อมหลังคนที่เป็นประตูครั้งละหน เมื่อจบเพลงสอง คนที่เป็นประตูจะกระดุกแขนลงกั้นคนสุดท้ายให้อยู่ระหว่างกลาง คัดออกไป คนข้างหลังต้องระวังตัวให้ดี มิฉะนั้นตนเองต้องออกจากการเล่น ต้องผ่านให้ได้หมดทุกคนจึงจะจบ บทร้องประกอบ "รีรีข้าวสาร สองทะนานข้าวเปลือก เลือกท้องใบลาน เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน คดข้าวใส่จาน พานเอาคนข้างหลังไว้ให้ดี"
ปลาเป็น-ปลาตาย
          ผู้เล่นจะมีจำนวน 5-6 คน เลือกคนที่เล่นเป็น ปลา” 1 คน ผู้เล่นคนอื่นที่เหลือจะเป็น โพงพาง” ส่วนผู้เล่นที่เป็นปลาจะถูกผ้าปิดตาไว้แล้วหมุน รอบ ผู้เล่นคนอื่นๆจับมือกันล้อมวงพร้อมกับร้องเพลง เมื่อร้องจบ โพงพางจะถามว่า “ปลาเป็นหรือปลาตาย” หากตอบว่า ปลาเป็น” ผู้เล่นที่ล้อมวงก็จะขยับตัวหนี ถ้าตอบว่าปลาตาย” ผู้เล่นที่ล้อมวงต้องยืนนิ่งๆ เมื่อ ปลา” จับใครได้ และทายชื่อถูก คนนั้นต้องเป็น ปลา” แทน

จ้ำจี้มะเขือเปาะ
          ผู้เล่นจะมีจำนวน 3-4 คน ผู้เล่นจะวางมือบนพื้น แล้วเด็กคนแรกเป็นคนชี้นิ้วไปเรื่อยๆ พร้อมกับร้องเพลง จ้ำจี้มะเขือเปาะ” เมื่อร้องจบแล้วนิ้วชี้ไปตกที่นิ้วของใคร คนนั้นจะต้องหดนิ้วไว้ในอุ้งมือ จากนั้นก็เริ่มร้องเพลงต่อไปเรื่อยๆ สุดท้ายนิ้วใครขาดหายไปมากที่สุดจะถือว่าเป็นผู้แพ้


หมากเก็บ
          ผู้เล่นมีจำนวน คนขึ้นไป ผู้เล่นแต่ละคนมีเม็ดหินเรียกว่า “หมาก” คนละ 5เม็ด เมื่อเริ่มเล่น ผู้เล่นทุกคนต้อง ขึ้นร้าน” ก่อน โดยการถือหมากไว้ในมือ จากนั้น ก็โยนขึ้นและรับด้วยหลังมือ ผู้เล่นคนใดสามารถรับได้มากที่สุด จะได้เล่นเป็นคนแรก หมากหนึ่ง โยนหมากขึ้น เม็ด ขณะเดียวกันก็เก็บหมากบนพื้น เม็ด และเก็บหมากทีละเม็ดจนหมด หมากสอง เก็บหมากบนพื้นครั้งละ เม็ด หมากสาม เก็บหมาก เม็ดก่อน แล้วเก็บ เม็ดที่เหลืออีกครั้งหนึ่ง หมากสี่ รวบเก็บหมากบนพื้นครั้งเดียวให้ได้ เม็ด ผู้เล่นคนใดเล่นหมากสี่จบก่อนเป็นผู้ชนะ


สวัสดีค่ะ

สวัสดีค่ะ